7/11/2552

พลังงานจากสาหร่าย คือทางเลือกที่ดีที่สุดของชาติ

บริษัท เชลล์ มองเห็นโอกาส แล้ว

ตอนนี้ซุ่มวิจัยอยู่ อีกหน่อยเราต้องซื้อจากเขาอีก

ถ้าเขา จดลิขสิทธิ์ ไว้หมด


Shell Oil to grow biofuels from marine algae

Posted Dec 12th 2007 at 5:24PM by Lascelles Linton

Shell Oil formed a joint venture with HR Biopetroleum called Cellana and they plan to produce biofuels from marine algae. Shell, which owns a majority stake in the venture, will start production of a demonstration facility on the Kona coast of Hawai'i Island immediately. The production volume for the facility, which is on a site leased from the Natural Energy Laboratory of Hawaii Authority (NELHA), will be small but the main goal is to research which natural microalgae species produce the highest yields biofuels

http://www.autobloggreen.com/2007/12...-marine-algae/

สาหร่ายน้ำมันโตเร็วมาก และให้น้ำมัน ถึงห้าสิบเปอร์เซ็นของน้าหนัก

updated 9:11 a.m. EDT, Tue April 1, 2008

Algae: 'The ultimate in renewable energy'

"Algae is the ultimate in renewable energy," Glen Kertz, president and CEO of Valcent Products, told CNN while conducting a tour of his algae greenhouse on the outskirts of El Paso.
Kertz, a plant physiologist and entrepreneur, holds about 20 patents. And he is psyched about the potential algae holds, both as an energy source and as a way to deal with global warming.
"We are a giant solar collecting system. We get the bulk of our energy from the sunshine," said Kertz.
Algae are among the fastest growing plants in the world, and about 50 percent of their weight is oil. That lipid oil can be used to make biodiesel for cars, trucks, and airplanes.

ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยมาก ลองดูข้อมูลเทียบกับการปลูกพืช

"By going vertical, you can get a lot more surface area to expose cells to the sunlight. It keeps the algae hanging in the sunlight just long enough to pick up the solar energy they need to produce, to go through photosynthesis," he said.
Kertz said he can produce about 100,000 gallons of algae oil a year per acre, compared to about 30 gallons per acre from corn; 50 gallons from soybeans.



http://www.cnn.com/2008/TECH/science...oil/index.html

เราสร้างพลังงาน แต่กำลังทำลายแหล่งอาหารของมนุษย์ ควรคิดใหม่ทำใหม่

To solve the problems of today, you need these different disciplines," says Ned Weinshenker, USU's vice president for strategic ventures and economic development.




"On biofuels, we want to focus on technologies that won't use existing food sources," he continues.


การปลูกพึชพลังงานมากๆ ไร่นา ก็จะค่อยๆหายไป ได้น้ำมัน แต่ขาดอาหาร

สาหร่ายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดขณะนี้

เป็นพลังงานสีเขียวอย่างแท้จริง

Algae oil promises truly green fuel

  • 10 June 2008
THIS is one biofuel that lives up to its green billing in more ways than one. It's an emerald-green crude oil, produced by photosynthesis in algae, which could fuel cars, trucks and aircraft - without consuming crops that can be used as food.
"This product can go right into today's oil pipeline," claims Jason Pyle of Sapphire Energy in San Diego, California, which developed the fuel. He says the "green crude" is similar in quality to naturally occurring crude oil. It is produced as a by-product of photosynthesis by a genetically engineered strain of algae, housed in tanks of treated waste-water and exposed to sunlight. The tanks can be placed on non-arable land

http://environment.newscientist.com

เขาเริ่มแล้ว เพราะมองเห็นความคุ้มค่าทางธุรกิจ

ประเทศไทย อย่าช้า ต้องเริ่มเลย

Algae Farm to Produce 4.4 Million Gallons of Experimental Jet Fuel

By Dave Demerjian April 08, 2008 | 7:00:00 AMCategories: Air Travel, Alt Fuel



An Arizona energy company is betting big on algae. PetroSun Biofuels has opened a commercial algae-to-biofuels farm on the Texas Gulf Coast near scenic Harlington Harlingen Texas. The farm is a 1,100 acre network of saltwater ponds, 20 acres of which will be dedicated to researching and developing an environmental jet fuel.


PetroSun's gameplan is to extract algal oil on-site at the farms and transport it to company bideisel refineries via barge, rail or truck. The company plans to open more farms in Alabama, Arizona, Louisiana, Mexico, Brazil, and Australia in 2008.

Of all the options for future jet biofuel production, algae is considered one of the most viable. It yields 30 times more energy per acre than its closest competitor, and requires neither fresh water, arable land used for cultivation, or consumable food, giving it an advantage over ethanol. PetroSun asserts that an area the size of Maryland could produce enough algae biofuel to satisfy the entire fuel requirements of the United States.

คงต้องหยุดส่งเสริมปาล์ม และสบู่ดำ โดยด่วนครับ เพราะอนาคตสู้ไม่ได้แน่

ความเสียหายจะตกกับเกษตรกร

อยากให้ทางราชการ "ตื่นตัว" โดยด่วน

Algae fuel, is a biofuel from algae. Compared with second
generationbiofuels, algae are high-yield 30 times more energy per acre
thanterrestrial crops) feedstocks to produce biofuels - although
there isactive research to reduce both capital and operating costs ofproduction so that it is commercially viable.


http://www.ireport.com/docs/DOC-40684

ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ



The challenge of algae fuel: An expert speaks

Making fuel out of algae is one of those ideas that everyone loves. An acre of algae can produce 50 times more oil than an acre of soy, estimates John Sheehan, now vice president of strategy and sustainable development at LiveFuels.
"It can produce a lot of oil," he said in an interview on Wednesday.
The oil can be used to make biodiesel or synthetic forms of petroleum or both. Many hope that algae-based fuel can sell for around $40 to $50 a barrel, or a lot less than crude.
Algae facilities can also suck significant amounts of carbon dioxide out of the atmosphere. The fumes coming out of utility smokestacks can be piped into algae growing facilities. And to top it off, algae's not a massive food crop at the moment, so you aren't using a valuable food crop to gas cars.

http://news.cnet.com/8301-10784_3-97....html?hhTest=1

มันคือน้ำมันที่จะแก้ปัญหาโรคร้อนไปในตัว

และที่ญี่ปุ่น

From The Times

June 14, 2008


Japanese scientists create diesel-producing algae

Professor Watanabe’s vision arises from the extraordinary properties of the Botryococcus braunii algae: give the microscopic green strands enough light – and plenty of carbon dioxide – and they excrete oil. The tiny globules of oil that form on the surface of the algae can be easily harvested and then refined using the same “cracking” technologies with which the oil industry now converts crude into everything from jet fuel to plastics

I believe I can change Japan within five years,” the Professor told The Times from his laboratory in Tsukuba University. “A couple of years after that, we start changing the world.”

เรายังหลับอยู่เลยครับ

Algae Oil Basics
The Environment-Friendly Oil
Algae can take many forms, such as seaweed (macro-algae) and kelp. But for oil we use micro-algae, as found in outdoor ponds. Micro-algae is actually a highly efficient biological factory capable of taking carbon dioxide (CO2), a waste product, and converting it into a high-density natural oil through photosynthesis. This is algae oil, also known as algal oil.
Much of the world’s petroleum is actually made up of algae that decomposed over hundreds of millions of years. But by drilling and burning that oil now, we are releasing the carbon dioxide that was absorbed long ago. This “carbon positive" effect is what causes global warming.
Algae cultivated today absorbs CO2 today. Burning it releases only what it absorbed in the first place, resulting in a balanced “carbon neutral” effect. This makes algae oil an environment-friendly oil.



http://www.originoil.com/technology/...il-basics.html

ที่น่าสนใจก็คือในกระบวนการปลูกสาหร่ายจะสร้างออกซิเจนออกมาจากการ สังเคราะห์แสงเป็นจำนวนมากด้วยครับช่วยลดปัญหาโลกร้อนไปได้ในตัว (ขายคาร์บอนเครดิตได้อีก)

นอกจากนี้ กากใยที่เหลือจากการผลิตสะกัดน้ำมันยังเอาไปใช้หมักทำปุ๋ยชีวภาพได้อีก

หากเลือกใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะสม และ การบริหารจัดการที่ดี คุ้มค่ากว่าครับ

สาหร่ายผลิตน้ำมัน อนาคตพลังงานโลก
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
วันที่ : 30/4/2551
โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่
ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งทะยานเป็นประวัติการณ์ฉิวเฉียดบาร์เรลละ 120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำมัน ในประเทศปรับรายวัน

วันที่ 28 เมษายน 2551 ราคาหน้าปัมเชลล์ ดีเซล ลิตรละ 33.44 บาท...เบนซิน ลิตรละ 34.99 บาท

เพื่อเป็นตัวช่วย แบ่งเบาภาระค่าน้ำมัน พลังงานทดแทน...พลังงานทางเลือก ไบโอดีเซล เอทานอล...น้ำมันปาล์ม สบู่ดำ น้ำมันพืชใช้แล้ว...จึงถูกจับตาเป็นพิเศษ

พืชพลังงานทดแทน อาจจะคุ้นกันอยู่แล้ว เป็น...พืชที่สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมัน ได้ด้วยการคั้นโดยตรง แต่ยังมีกระบวนการเปลี่ยนเซลลูโลสพืช ให้เป็นสารทดแทนน้ำ มันด้วยกระบวนการเผาโดยไม่ใช้อากาศ

รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร บอกว่า การเผาเซลลูโลส ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ ทางธรรมชาติ ความร้อนจะแตกโครงสร้างทางเคมี

โมเลกุลที่ใหญ่จะเล็กลง กลายเป็น น้ำมัน กับ แก๊ส

กระบวนการแตกเซลลูโลสเป็นน้ำมัน ทำได้กับพืชทุกชนิด จะคุ้มหรือไม่ ก็ต้องดูต่อไปว่า พืชแต่ละชนิดมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากน้อยแค่ไหน

“น้ำมาก เผาแล้วก็ได้น้ำมันน้อย”

อาจารย์วิษณุ บอกว่า น้ำมันที่ได้จากการแตกเซลลูโลส ไม่อยากให้เรียกว่าน้ำมัน ที่ถูกต้องควรเรียกว่า...สารเคมีชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมัน

สารเคมีที่ได้จากพืชนี้ อนาคตจะนำไปตกแต่งทางเคมีให้มีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันดีเซล เบนซิน โพลิเมอร์ พลาสติก ที่ขายกันอยู่...ก็ทำได้

“เมื่อถึงวันนั้น อาจเป็นวันที่น้ำมันดิบหมดไปแล้วจากโลก”

30-40 ปีที่แล้ว โลกมีแต่ถุงผ้า กระสอบป่าน ไม่มีถุงพลาสติก พอเกิด น้ำมันดิบ ดึงมาใช้ได้ ก็เปลี่ยนองค์ประกอบเคมีให้เป็นโพลิเมอร์ พลาสติก... อนาคตถ้าน้ำมันหมดโลก โลกยังมีถ่านหิน พืชที่ทำได้ ด้วยการเปลี่ยนโครงสร้าง ...ปฏิกิริยาทางเคมี

ประเด็นที่น่าสนใจวันนี้ น้ำมันแพง พืชพลังงานไปแย่งพื้นที่ปลูกพืช อาหารมนุษย์ เมื่อพืชอาหารขาดแคลน ก็เป็นปัญหาว่า...อนาคตจะดำเนินไปในทิศทางไหน

“แล้ว...มีพืชอย่างอื่นไหม ที่เป็นพืชพลังงานได้ คำตอบคือ...มี”

อาจารย์วิษณุ พุ่งเป้าไปที่ “สาหร่าย” ในต่างประเทศเริ่มวิจัยทำเป็น รูปร่างมาหลายปีแล้ว ทั้งสาหร่ายน้ำจืด น้ำเค็ม

“สาหร่ายก็สีเขียว ต้นไม้ก็สีเขียว มีเซลลูโลส ผลิตน้ำมันได้”

ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ทำนาน 4-5 ปีแล้ว สกัดสาหร่ายทำน้ำมัน ผสม แอลกอฮอล์ 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้แทนน้ำมัน มีชื่อเรียกว่า ออยล์กี้...น้ำมันจากสาหร่าย

มุมมองนี้อาจจะใหม่สำหรับประเทศไทย จุดสำคัญพืชพลังงาน หลายคนตั้งคำถามที่ความคุ้ม สาหร่ายมีองค์ประกอบเป็นน้ำมาก กว่าจะทำให้น้ำมันได้มากๆจะคุ้มหรือ?

“จะคุ้มไม่คุ้ม ขึ้นอยู่กับเทคนิคการสกัดให้ได้น้ำมันซึ่งมีหลายวิธี”


จะเหลือกาก กากก็คือเซลลูโลส นำไปผ่านกระบวนการเผาโดยไม่ใช้อากาศ ที่อุณหภูมิ 450-650 องศาเซลเซียส นาน 2-3 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำมันมาอีกส่วนหนึ่ง

ในขั้นทดลอง การสกัดเฮกเซน ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ได้สารแทนน้ำมัน มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสาหร่าย ร้อยละ 10-15

กากที่เหลือนำไปเผาด้วยกระบวนการเผาไม่ใช้อากาศ จะได้สารแทนน้ำมัน ร้อยละ 20-30

“น้ำมันที่ออกมา อย่าคิดว่าเป็นน้ำมันพลังงาน...ให้มองถึงน้ำมันดิบที่มีองค์ประกอบ สารอินทรีย์มากมาย ก่อนนำไปกลั่นแยกได้เป็นเบนซิน ดีเซล พลาสติก...”

เปรียบเทียบน้ำมันสาหร่ายกับน้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลืองสกัดน้ำมันได้มากกว่าอยู่แล้ว น้ำมันถั่วเหลืองเอาไปทำไบโอดีเซลได้ สาหร่ายสกัดออกมาผสมแอลกอฮอล์ตามสัดส่วน ก็ทำไบโอดีเซลได้เช่นกัน

น้ำมันที่ได้จาก 2 กระบวนการ มีคุณสมบัติเผาไหม้ ติดไฟได้ แต่ไม่ใช่ น้ำมันดีเซล...เบนซิน สารแทนน้ำมันในกระบวนการเผาเอาไปผสม 20-30% จะใช้เป็นน้ำมันเตาโรงงาน น้ำมันรถไถนา หรือใช้กับเครื่องยนต์เรือเดินทะเล ก็ทำได้

“ปริมาณน้ำมันต่อสาหร่ายไม่สูง สาหร่ายไม่ได้มีน้ำมันในตัวของตัวเอง แต่ทำให้มีน้ำมันออกมาได้ เพราะมีเซลลูโลส”

ในเชิงวิศวกรรม ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าสาหร่ายสายพันธุ์ไหนให้น้ำมันมากน้อย แต่พุ่งเป้าไป ที่เทคนิคการสกัดอย่างไรใช้พลังงานน้อยที่สุด และได้น้ำมันมากที่สุด

กากที่เหลือจากกระบวนการขั้นสุดท้าย เป็นถ่านคุณภาพดี เผาไหม้สมบูรณ์ นำไปใช้เป็น พลังงานได้อีก

กระบวนการเผา หากนึกภาพไม่ออกให้คิดถึงหม้อหุงข้าว แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นในปิดฝาอากาศเข้า ไม่ได้ ผ่านความร้อนเผามาจากหม้อชั้นนอกไปเรื่อยๆ เซลลูโลสหรือพืชในหม้อจะสลาย ตัวเป็นน้ำมัน และมีแก๊สออกมาด้วย

ที่เป็นรูปร่างในเชิงการค้า คือ การเผาขยะพลาสติกรีไซเคิลกลับเป็นน้ำมัน ก็ใช้หลักการนี้ ได้น้ำมันออกมาถึง ร้อยละ 80

“เผาขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมัน ไม่ใช่เทคนิคใหม่ อย่าไปตื่นเต้น น้ำมันที่ได้จากขยะ... บางส่วนเป็นเบนซิน บางส่วนเป็นดีเซล”

หลายปีที่แล้วน้ำมันราคาถูก เครื่องเผามีต้นทุนเผาขยะให้เป็นน้ำมันลิตรละ 17 บาท...ไม่มีใครสนใจ มาวันนี้...น้ำมันลิตรละกว่า 34 บาท ก็แย่งกันเผาเพื่อ ทำกำไรกว่าเท่าตัว...สะท้อนถึงแนวคิดนำสาหร่ายมาทำน้ำมัน

อาจารย์วิษณุ บอกอีกว่า เทคนิคนี้ภูมิปัญญาไทยทำมาแต่โบราณ การเผาถ่าน กลบไม่ให้ อากาศเข้า จะได้คราบเหนียวๆ ชาวบ้านเรียกว่า น้ำมันถ่าน

ดังนั้น เทคนิคการเผาแบบไม่ใช้อากาศไม่ได้ยุ่งยาก ปัญหามีเพียง ข้อเดียว ทำอย่างไรให้สาหร่ายโตได้เร็ว เก็บเกี่ยวได้เร็ว

ในแง่ผลผลิตน้ำมันต่อพื้นที่ สาหร่ายสูงกว่าพืชพลังงานทุกชนิด หมายความว่าใช้พื้นที่เท่ากัน สาหร่ายโตได้เยอะกว่า เพราะโตได้ทั้งพื้นที่ ในแง่ความลึก...ต่อปริมาณ ไม่ได้โตต่อตารางเมตร เหมือนต้นไม้ทั่วไปที่โตแค่บนผิว

ข้อมูลต่างประเทศ ปริมาณพืชน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก 1 หน่วย Hectare ทานตะวันได้น้ำมัน 952 ลิตร ปาล์มได้น้ำมัน 5,950 ลิตร มะพร้าวได้น้ำมัน 2,689 ลิตร

สาหร่าย...ได้น้ำมันสูงถึง 100,000 ลิตร

คิดเปอร์เซ็นต์ให้น้ำมันเฉลี่ยต่อน้ำหนักพืชขณะแห้ง สบู่ดำให้น้ำมัน 40-55%, ถั่วเหลือง 20%, ทานตะวัน 55%, ปาล์ม 50%, ข้าวโพด 7%, สาหร่าย 15-40%

ในอนาคต สาหร่ายคือ ทางเลือกใหม่ของพืชพลังงาน

อาจารย์วิษณุ บอกว่า วันนี้ ไทยแค่เริ่มต้น ต้องมองว่า...ศักยภาพของสาหร่ายมีมากมหาศาล ปลูกได้ในน้ำซึ่งมีพื้นที่ 2 ใน 3 ของโลก

ในน้ำไม่ต้องแย่งพื้นที่ปลูกกับใคร ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน สาหร่าย เจริญเติบโตดีได้ทั้งปี ยิ่งเป็นข้อเด่นกว่าต่างประเทศ

อาจไม่ต้องพูดถึงสาหร่ายธรรมชาติ เอาแค่ในบ่อบำบัดน้ำเสีย หากหาสายพันธุ์สาหร่าย ที่เจริญเติบโตได้ดีหลายๆกลุ่มมาเลี้ยง ไม่ต้องแย่งเนื้อที่ใคร แถมไม่ต้องเสียค่ายา ค่าปุ๋ยเลี้ยงดู

อีกประโยชน์ของสาหร่าย ดึงคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปริมาณแก๊สเรือนกระจก ดูดซับโลหะหนัก บำบัดน้ำเสีย...ยิ่งทวีคุณค่ามหาศาล

“เรารู้ว่าพืชทุกชนิดผลิตน้ำมันได้ ก็หาวิธีสกัดน้ำมันออกมา ได้น้ำมันมาทำไบโอดีเซล...พืชชนิด ไหนเอาไปเผาได้น้ำมัน ก็ทำกันไป พูดถึงพืชพลังงาน ทำไมต้องมองแค่ยูคาลิปตัส สบู่ดำ ปาล์ม...ปัญหาที่ต้องมอง คือ ความเหมาะสมทั้งระบบในแต่ละพื้นที่”

ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้น้ำมัน ยุคน้ำมันแพงอย่างนี้ อยากให้มองหลายๆพลังงานทางเลือก เพื่อเป็นทางออกยามฉุกเฉิน

โซลาร์เซลล์มีมาเนิ่นนานแล้ว ทุกคนรู้ว่าต้นทุนแพง...ไม่คุ้มค่า แต่ต่างประเทศก็ใช้แพร่หลาย ประเทศแถบยุโรปมีพลังงานนิวเคลียร์...ทำไมไม่ใช้เพียง อย่างเดียว ก็เพราะเขาต้อง การกระจาย ความเสี่ยงด้านพลังงาน วันใดที่พลังงานอย่างหนึ่งอย่างใดมีปัญหา จะได้มี พลังงานอื่นเข้ามาเสริม

“สิ่งที่คิดกันวันนี้ หลายคนอาจยังมองไม่เห็นความเป็นไปได้ แต่ในวันหน้าอาจ เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ทุกคนต้องพึ่งพิง”


ที่มา http://www.thaienergynews.com/Articl...p?ObjectID=250

ดีครับ แล้วจะหาซื้อพันธุ์มาเพาะเลี้ยงได้อย่างไร ที่ไหนละครับ...

สาหร่ายน้ำจืดสีเขียว.......พันธ์ KKU-S2 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) มีปริมาณไขมัน ๔๗.๘% โดยน้ำหนักแห้ง...

สาหร่ายสีเขียวทุกชนิด หรือ ที่มีเซลลูโลส ใช้เพื่อการนี้ได้หมด...เราใช้ ไตร กลีเซอไรด์ ที่มีอยู่ในสาหร่าย ในการ เปลี่ยน มาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและ สารเคมีอื่นๆ....


ทราบมาว่า ที่สหรัฐอเมริกา เริ่มมีการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากสาหร่ายเขียว ในเชิงพาณิชย์กัน แล้ว...หลังจากที่ได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัย กันอย่าง ต่อเนื่องเป็นเวลา ๑๒ ปี...ซึ่งจัดว่า ไม่นานเลย....มีข้อมูลเปรียบดังนี้... ในพื้นที่ ๑ เฮกตาร์(ประมาณ ๖.๒๕ ไร่) ปลูก ข้าวโพด นำมาทำน้ำมันได้ ๑๗๒ ลิตร แต่ถ้า..เลี้ยงสาหร่าย จะ ทำน้ำมันได้ ๑๓๖,๙๐๐ ลิตร....

ท่านใดสนใจเพิ่มเติม.... ลองติดต่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดู